วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


ผู้วิจัย  :  พรใจ  สารยศ

ความมุ่งหมายของงานวิจัย  :  
            1.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
            2.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายระยะการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  :  1.แบบบันทึกเหตุการณ์
                     2.แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                     3.แบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา

วิธีดำเนินการ  :
             การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2543  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง  โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
             1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
             2.ผู้วิจัยรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยจากประธาน  และกรรมการ  หลายครั้ง
             3.ทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มเด็กที่มีบริบทใกล้เคียงกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  3  กลุ่ม  จาก  3  โรงเรียน
                   3.1โรงเรียนประจักรวิทยา  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4 วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือในการวิจัยจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปขอรับคำแนะนำ  และรับข้อเสนอแนะจากประธานควบคุมปริญญานิพนธ์
                   3.2โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอีกครั้ง  จากนั้นนำข้อมูลการจัดกิจกรรม  การสังเกตพฤติกรรมเด็กและการบันทึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปรับข้อเสนอแนะจากประธาน  กรรมการและผู้เชี่ยวชาญ
                   3.3โรงเรียนวัดอุทัยธาราม  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการจัดกิจกรรมที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะไปทดลองใช้กับเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง
            4.ดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มตัวอย่าง  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง
            5.นำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกเหตุการณ์  แบบวิเคาระห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และแบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา  มาจัดหมวดหมู่ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  The  Ethnograph
           6.นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มานำเสนอในบทที่  4
           7.อภิปรายผลจากข้อมูลที่ได้ในบทที่  4  และนำเสนอในบทที่  5

สรุปผลการวิจัย :
           ผลการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใ้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  สรุปได้ดังนี้
            1.การปรับบทบาทตนเองของผู้วิจัยขณะจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ดังนี้  ผู้วิจัยเป็นผู้นำเสนอกิจกรรม  ในสัปดาห์ที่  1-2  ส่วนบทบาทในการตั้งคำถาม  สังเกต  และรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยให้ความสำคัญทุกสัปดาห์
            2.เด็กมีการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาตามระยะเวลาดังนี้
สัปดาห์ที่  1-2  เด็กมีพฤติกรรมนิ่งเฉย  หลีกเลี่ยง  และไม่เข้าร่วมแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหา  ในสัปดาห์ที่  3-4  เด็กมีพัฒนาการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้  แต่ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม  ในสัปดาห์ที่  5-8  เด็กมีพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา

________________________________________________________________________________
สรุปบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  (เนื่องจากโทรทัศน์ครูเปิดไม่ได้)

เรื่องผงวิเศษช่วยชีวิต

วิธีการทดลอง
         
               นำผงแป้งใส่ไว้ในภาชนะใบที่  1  และ  2  และให้เด็กๆเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง ของผงแป้งทั้ง 2  ชนิด  ว่าแตกต่างกันอย่างไร  และเทน้ำลงไปในผงแป้งทั้ง  2  ชนิด  หลังจากเด็กๆพิสูจน์กันว่า  แป้งในภาชนะที่ 2  มีเนื้อที่แข็งกว่า ภานะใบที่ 1  และเมื่อใส่ผงแป้งเพิ่มลงไปอีกก็จะทำให้มีเนื้อแข็งเพิ่มมากขึ้น  เขาจึงทดลองโดยการทำบึงน้ำจำลองขึ้นมา  และนำแป้งลงไปผสม  และให้เด็กๆ วิ่งข้าม  ผลปรากฎว่า เด็กๆ  ไม่จม  แต่ถ้าเด็กลงไปยืนอยู่นิ่ง  เด็กๆ ก็จะจม  แป้งที่เรานำมาทดลองนั่นก็คือแป้งข้าวโพด
               
คุณสมบัติ
              แป้งข้าวโพดที่ละลายน้ำมีคุณสมบัติพิเศษคือ  ถ้ามีแรงกระแทกเช่น  เราวิ่ง  หรือเดินเร็วๆ  เหยียบไปบนน้ำแป้ง  มันจะเหมือนของแข็ง  คือไม่ยุบตัวลงไป  แต่หากเป็นแรงกด แบบค่อยๆ กด  มันจะเหมือนเป็นของเหลว  เช่น  เมื่อเราไปยืนอยู่บนน้ำแป้ง  เราก็จะจมลงไป
               
              ลักษณะที่ว่ามานี้  ก็จะเหมือนกับลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำตามชาดหายหรือพวกทรายดูดนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
2 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนพับ  "สารสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน"
กลุ่มของดิฉันทำ  หน่วยไข่  มีเนื้อหาดังนี้


  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนอาจารย์จึงเน้นเรื่องงานและการสอบ
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          นำวิธีการทำแผนพับ  สารสัมพันธ์ระหว่างครูและโรงเรียน  ไปใช้ในอนาคต  ได้เป็นอย่างดี

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
25 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องแผนการสอน  อาจารย์เน้นให้ทุกคนเข้าใจ  และถ้ากลุ่มไหนมีปัญหาหรือไม่เข้าใจ ให้เข้าไปปรึกษาอาจารย์  เพื่อที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนในครั้งต่อไป

          ต่อด้วยอาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของตนเองอีกหนึ่งครั้ง  เพื่อที่จะจัดให้เป็นหมวดหมู่ โดยจัดหมวดหมู่ได้ดังต่อไปนี้

   

หลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็ออกมานำเสนอ  โทรทัศน์ และงานวิจัย

       โทรทัศน์ครู

        -ไฟฟ้าและพันธ์ุพืช

        -การละลายของสาร

        -จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย

        -แรงเสียดทาน

        -สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

       วิจัย

        -กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์

        -ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

        -การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ


         หลังจากนำเสนองานเสร็จแล้ว  อาจารย์ให้นักศึกษา  ทำหวานเย็น  ต่อ

ขั้นตอนการทำ
1. ผสมน้ำแดงกับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ
2.ตักใส่ถุง มัดให้แน่น
3.แช่ลงไปในน้ำแข็งที่ผสมเกลือ โดยบรรจุไว้ในหม้อ
4.หมุนหม้อไปมา



  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์อารมณ์ดี  มีกิจกรรมให้ทำ 
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          นำคำเสนอแนะ และกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำกันในห้องเรียน  นำไปประยุกต์กับเด็กปฐมวัยในอนาคต  ได้ดี




วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
19 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์เปลี่ยนวันสอนมาเป็นวันพุธ   เนื่องจากวันอังคารมีกิจกรรม  ที่นักศึกษาต้องเข้าร่วมทำกิจกรรม

          อาจารย์เริ่มการสอนโดยการพูดเรื่องการสรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครู  บอกหัวข้อต่างๆ ที่นักศึกษาต้องสรุปมา

          และต่อด้วยการทำ  Cooking  Waffle  มีอุปณ์  ส่วนประกอบ  และวิธีการทำดังนี้

อุปกรณ์
-กระบวย
-ที่ตีไข่
-ถ้วยใบเล็ก
-แปรงทาเนย
-เครื่องทำขนม

ส่วนประกอบ
-นม
-เนย
-ไข่
-แป้งสำเร็จรูป

ขั้นตอนการทำ
1. เทแป้งใส่ถ้วย ตามด้วย น้ำ  นม ไข่  และเนย
2.ตีให้เข้ากัน
3.ทาเนยบนแผงทำวาฟเฟิล
4.หยอดแป้งลงบนแผงให้เต็ม
5.อบประมาณ 3-4 นาที
6.เปิดเครื่อง พร้อมกับวาฟเฟิลที่พร้อมรับประทาน



             หลังจากนั้นเพื่อนๆ อีก 2 กลุ่ม ออกมาสอบสอน ในหน่วยดิน  และหน่วยสับปะรด  และต่อด้วยนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู

  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอน  ทำให้นักศึกษาเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรม  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          รู้จักขั้นตอนการทำขนม วาฟเฟิล  และสามารถนำไปสอนเด็กในอนาคตต่อไปได้




วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
11 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20

  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้เริ่มจากการสอบสอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

1.  หน่วยสับปะรด  (Pineapple)

2.  หน่วยส้ม  (Orange)

3.  หน่วยทุเรียน  (Durian)

4.  หน่วยมด  (Ant)

5.  หน่วยน้ำ  (Water)


6.  หน่วยดิน (Soil)
___________________________________________________________________

และหลังจากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้สาธิตการทำไข่หลุม


  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนสนุก  สอดแทรกเนื้อหาได้ดี
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใ้ประโยชน์
          นำทักษะที่ได้จากการเรียนในวันนี้ไปใช้ฝึกตนเอง  และสามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในการสอน ในอนาคตต่อไป


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
4 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องแผนต่อ  สัปดาห์ที่แล้ว  ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1.  กรอบมาตรฐาน
2.  สาระที่ควรเรียนรู้
3.  แนวคิด
4.  เนื้อหา
5.  ประสบการณ์สำคัญ
6.  บูรณาการ
7.  กิจกรรมหลัก
8.  วัตถุประสงค์
  
         เมื่ออาจารย์สอนเสร็จ  แต่ละกลุ่มก็ออกมาสอบสอนหน้าชั้นเรียน  มีทั้งหมด  10  กลุ่ม
วันนี้ที่มีการนำเสนอ  มีเพียง  4  กลุ่ม  คือ
1.  หน่วยข้าว  (Rice)

2.  หน่วยไข่  (Egg)

3.  หน่วยกล้วย  (Banana)

4.  หน่วยกบ  (Frog)

และหน่วยที่เหลือสอนต่อสัปดาห์หน้า

  • ประเมินอาจารย์
           อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการสอนมากขึ้น
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  และตั้งใจสอนในหน่วยของตัวเอง
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          นำกระบวนการที่อาจารย์แนะนำไปประยุกต์ในการสอนมากยิ่งๆ ขึ้นไป

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
28  October  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้

  • กิจกรรมที่ 1
วันนี้อาจารย์ทำการทดลองให้นักศึกษาดู  คือการทดลอง  
เรื่อง  อากาศ
อุปกรณ์  ไม้ขีดไฟ  เทียน  ถ้วย  แก้ว
การทดลอง  คือ  นำไฟมาจุดเทียนที่ตั้งไว้บนถ้วย  แล้วนำแก้วมาครอบ 
สังเกตการเปลี่ยน  เมื่อนำแก้วมาคอบเทียนไข  เทียนไขก็จะดับลง  เพราะอากาศที่อยู่ในแก้วทำให้ไฟดับลง
ภาพการทดลอง


  • กิจกรรมที่  2
อาจารย์แจกกระดาษ  (Paper) ให้คนละ  1 แผ่น  แล้วพับครึ่ง  2  ครั้ง  แล้วฉีกออก ให้เป็นรูปกลีบดอกไม้ จากนั้นนำไปลอยน้ำ  จากการสังเกต  ผลที่ออกมาคือ  ดังภาพ


จากการทดลอง  เมื่อน้ำเริ่มซึมเข้ากระดาษเรื่อยๆ  กระดาษก็จะคลี่ออกมาทีละกลีบ  และคลี่ออกมาเรื่อยๆ เป็นรูปดอกไม้

  • กิจกรรมที่  3
เรื่อง  การลอยการจม
การทดลอง  นำดินน้ำมันที่นวดไว้  ปั้นเป็นก้อนกลมและนำไปใส่ลงในภาชนะบรรจุน้ำที่เตรียมไว้  ผลที่ออกมาคือ  ดินน้ำมันจมน้ำ  เป็นเพราะดินน้ำมันมีมวลสารจึงทำให้จม
ภาพการทดลอง



  • กิจกรรมที่  4
เรื่อง  น้ำ
การทดลอง  กรอกน้ำใส่ขวด  และนำสายยางมาดูดน้ำจากขวดนึงไปยังอีกขวดนึง  และเปรียบเทียบระหว่างการนำขาดที่ถ่ายเท วางในระดับเดียวกัน  และวางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สังเกตการไหลของน้ำ ว่าการวางแบบใดน้ำจะไหลเร็วกว่ากัน  
สังเกตการเปลี่ยนแปลง การวางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ น้ำจะไหลเร็วกว่า  การวางในระดับเดียวกัน
ภาพการทดลอง




  • ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนสนุก  มีกิจกรรมมากมาย
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน  สนุกกับการทำกิจกรรม  แต่งกายเรียบร้อย
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              นำเทคนิค  การทดลองต่างๆ  ไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  และมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้




    บทความ

    สรุปบทความ

    (Article)


    ครูกับการพัฒนาทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
    โดย : การศึกษาปฐมวัย  ดร.ดารารัตน์  อุทัยพยัคฆ์

           การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ครูจะจัดกิจกรรมในเรื่องของสิ่งที่อยู่แวดล้อมเด็กซึ่งเกี่ยวข้องกับพืช  สัตว์  มนุษย์  ดิน  น้ำ  อากาศ  แสง  เสียง  เป็นต้น  โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจากการสังเกตทดลองและตอบคำถาม  สิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กประทับใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ครูจะต้องพัฒนาให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  สิ่งที่ครูควรปฏิบัติเพื่อสร้างทัศนคติให้กับเด็กคือ
         
           -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการสังเกตสิ่งที่เด็กพบทุกวัน  ให้เด็กได้ค้นหาแหล่งข้อมูลง่ายๆ
           -  คอยส่งเสริมและสนับสนุนเด็กขณะจัดกิจกรรมการทดลอง  ให้เวลากับเด็กโดยคอยให้คำแนะนำและถามคำถามต่างๆ  สิ่งที่ครูควรพูดหรือถามได้แก่  นักเรียนคิดอะไร  นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น  พวกเราจะลองอีกครั้งหนึ่งไหมว่าจะเกิดเหมือนเดิมหรือไม่  ลองผลัดกันมาดูทีละคนว่าพวกเราทั้งหมดเห็นเหมือนกันหรือไม่
         
           ฉะนั้นการพัฒนาทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย  เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป



        




    วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    21  October  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20



    • การเรียนในวันนี้
               วันนี้เริ่มเรียนโดยการที่เพื่อนๆออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ตกค้างจากสัปดาห์ที่ผ่านมา   และหลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอเสร็จ  อาจารย์เริ่มสอนเรื่องแผนการจัดประสบการณ์อธิบายเรื่องการเขียนแผนการสอน   และแนะแนวทางการจัดกิจกรรมในแผนให้กับนักศึกษา

               โดยเรียงจากหัวข้อดังนี้

    1.  วัตถุประสงค์

    2.  สาระที่ควรเรียนรู้

    3.  เนื้อหา




    4.  แนวคิด

    5.  ประสบการณ์สำคัญ

     กรอบพัฒนาการ


    • web  (บูรณาการทักษะรายวิชา)
    6.  แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม  (กิจกรรมหลัก  6  กิจกรรม)

    7.  แผนของแต่ละวัน

         แผนในแต่ละกลุ่มของกลกุ่มดิฉัน  "ไข่"

    • วันที่  1  ชนิดของไข่  (Type)
    • วันที่  2  ลักษณะของไข่  (Characteristice)
    • วันที่  3  ส่วนประกอบของไข่  (Components)
    • วันที่  4  ประโยชน์ของไข่  (Benefits)
    • วันที่  5  การเก็บรักษา  (Storage)
     ของเล่นจากหน่วย"ไข่"  คือ  ไข่น้อยลอยน้ำ 

    • ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนสนุก  เข้าสอนตรงเวลา
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              นำความรู้เรื่องการเขียนแผนที่อาจารย์อธิบายไปปรับใช้ในการเขียนให้ถูกต้อง  และดีมากกว่าเดิม


    วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    14  October  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20


    • การเรียนในวันนี้
              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนอวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองทำมา

    สื่อของดิฉันคือ  วงล้อหลากสี


              อุปกรณ์

    1.กาว
    2.ไม้บรรทัด
    3.ดินสอ
    4.กรรไกร
    5.เชือก
    6.กระดาษ
    7.สีเมจิก

             วิธีทำ

    1.ตัดกระดาษเป็นวงกลม
    2.นำไม้บรรทัด  ขีดเส้น   แบ่งเป็น  6  ส่วน
    3.ระบาย
    4.เจาะรูตรงกลาง  2 รู
    5.ตัดเชือกยาว 36  นิ้ว
    6.ร้อยเชือกลงไปในรู
    7.ผูกติดกัน

             วิธีเล่น

    นำไปเล่นหมุนๆ ดึงๆ  กลายเป็นวงล้อสีสวย

                   ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์คือ  เด็กจะได้เรื่องสี  เด็กจะรับรู้ต่อสี  คือเกิดการมองเห็น  โดยใช้ตา  เป็นอวัยวะรับสัมผัส  ตาจะตอบสนองต่อสีต่างๆ  และเด็กจะได้เรื่องของการหมุนและการดึง เด็กจะมีเทคนิคในการหมุนเมื่อเราหมุนจนเชือกตึงเด็กก็จะปล่อยออกมาวงล้อก็จะเกิดการหมุนหลังจากนั้นเด็กสามารถดึงวงล้อให้เข้าหรือออกก็ได้  จากแรงดึง

    สื่อของเพื่อนๆ



                          หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนต่อเรื่อง  เรื่องแผนการสอน และกลุ่มของดิฉันทำหน่วย"ไข่"  ซึงได้ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว





    • ประเมินอาจารย์
              อาจารย์ให้คำอธิบายและข้อเสนอแนะในสื่อแต่ละสื่อที่นำเสนอได้อย่างละเอียด
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆ ตั้งใจนำเสนอสื่อที่ตนเองทำมา
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจออกไปนำเสนอสื่อ
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              นำสื่อที่เพื่อนๆออกไปนำเสนอและของตนเอง  และข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กในอนาคตต่อไป


    วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    7  October  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20







    ไม่มีการเรียนการสอนอยู่ในช่วงสอบกลางภาค

    วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    30  September  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20



    • การเรียนในวันนี้
    วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยการให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์วิทยาศาสตร์  2  อย่าง คือ

               กิจกรรมที่  1  อาจารย์ให้พับกระดาษ  พร้อมกับตัดกระดาษตามที่อาจารย์บอกและให้ติดคลิปหนีบกระดาษ  โดยแต่ละแถวจะตัดความยาวไม่เท่ากัน  และอากไปทดลองหน้าห้อง  ผลที่ออกมาคือ  เกิดความแตกต่างเพราะ วิธีการตัดไม่เท่ากัน  การโยน  การพับ  เป็นต้น  การที่ได้ลงมือกระทำ  ทำให้เกิดการเรียนรู้  เกิดองค์ความรู้ใหม่  ตามทฤษฎี  Constructivism  การเรียนรู้ด้วยตนเอง

    ภาพกิจกรรม




               กิจกรรมที่  2  นำแกนทิชชูมาตัดแบ่งครึ่ง  เจาะรู  2 รู  และนำเชือกที่เตรียมไว้มาใส่ในรูนั้น  หลังจากนั้นตัดกระดาษเป็นวาดกลมพร้อมวาดรูปที่ตนเองชอบ นำมาติดที่แกนทิชชูในแนวนอน  และอาจารย์ให้เราลองเล่นกันเองโดยที่อาจารย์ไม่บอกวิธีการเล่น  

    ภาพกิจกรรม


    *ออกแบบหากิจกรรมให้เด็กเล่น  ทำให้เกิดการค้นพบด้วยตัวเอง


          บทความ
    • สะกิดให้ลูกคิดวิทยาศาสตร์
              -ช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองแบบมีเหตุผล  มี  5 ขั้น
    1.การมีส่วนร่วม  ของพ่อแม่ให้ลูกใ้คำถาม
    2.ขั้นสำรวจ  แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
    3.ขั้นอธิบาย  ให้ลูกวิเคราะห์เอง
    4.ขั้นรายละเอียด  ให้ลูกเชื่อมโยงความรู้  เช่น  หาการทดลองให้ลูกทำ
    5.ขั้นประเมิน

    • เรียนรู้จาก  ไก่-เป็ด
              -ขั้นนำ  ให้เด็กร้องเพลง  ทำท่าทางประกอบเพลง  เล่านิทาน  ไก่-เป็ด
               ขั้นสอน  ชวนเด็กตั้งคำถามในวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ไก่และเป็ด
               ขั้นสรุป  เด็กนำเสนอผลงาน

    • เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
    - ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
    - สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
    - บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะ่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    - ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์สร้างความสนุกสนานและความพอใจ
    - สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก

    • หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
              หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ครบถ้วนทุกด้าน  เป็นการสส่งเสริมทักษะแนวคิดวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

    • ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
              
    • ประเมินอาจารย์
               อาจารย์สอนสนุก  มีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียน
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน  และตั้งใจทำกิจกรรม
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจทำกิจกรรม  และฟังอาจารย์สอน  แต่มีอุปสรรคในการเรียนคือเนื่องไม่สบาย  จึงทำให้ไม่ค่อยสนุกกับการเรียนมากนัก
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนไปจัดให้กับเด็กโดยให้เด็กได้เรียนรู้จากตัวกิจกรรมด้วยตนเอง  ทำให้เด็กเกิดการค้นพบ



    วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    23  September  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20


    • การเรียนในวันนี้
              วันนี้อาจารย์เริ่มสอนโดยเรื่องของแสง  แนะนำให้นักศึกษา  สรุป  จับประเด็น  ลงบล็อก
              
              อาจารย์พูดถึง  "Constructivism"  คือ  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  เด็กได้ลงมือกระทำเอง  โดยใช้  ประสาทสัมผัส  ทั้ง  5

              การเรียนรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  คือ  การเรียนที่เกิดจากความอยากรู้  อยากเห็น  ผู้เรียนจะมีการวางแผนด้วยตัวเอง
         
              พัฒนาการ (Development)   คือ  การแสดงความสามารถตามวัย  +  คุณลักษณะตามวัย  =  ธรรมาติของเด็ก

              อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ อาจารย์น้ำกระดาษมาให้นักเรียน  และไม้เสียบลูกชิ้นยาว  1 อัน  โดยให้พับครึ้งกระดาษ และวาดรูปทั้ง2 ข้าง ให้สัมพันธ์กัน  อาจารย์ยกตัวอย่างให้คือ  ผีเสื้อกับดอกไม้  และนักศึกษาวาดตามที่ตนเองสนใจ  ตามความคิดของตัวเอง  และดิฉันได้วาด  เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย  เมื่อวาดเสร็จ  อาจารย์ให้เอาไม้ติดกาวและติดไปที่กระดาษเพื่อที่จะให้หมุนได้  และผลลัพธ์ที่ออกมาคือ  ผลงานของดิฉัน ติดลบ  ไม่สมประกอบ  ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  เพราะทำแล้วไม่สมบูร์  ไม่ตรงกับเป้าหมายที่อาจารย์ตั้งไว้  สิ่งที่ถูกต้องคือ  เมื่อหมุนแล้วภาพทั้ง  2  ภาพจะมีความสัมพันธ์กัน  อย่างเช่น  ผีเสื้อกับดอกไม้  เมื่อหมุนแล้ว  ภาพที่ออกมาคือ  ผีเสื้อกำลังตอมดอกไม้

    ผลงาน


              หลังจากนั้น อาจารย์ได้แจกสื่อ เกี่ยวกับแสง  ให้นักศึกษาได้ดู และทดลองสังเกตในสื่อแต่ละอัน


              บทความ
    • สอนลูกเรื่องพืช
    • เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
    • แนวทางสอนคิด  "เติมวิทย์"  ให้เด็กอนุบาล
    • การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ  สำหรับคุณหนูๆ
      
             และอาจารย์ได้สรุปมายแมพ  ที่อาจารย์สั่งให้ไปทำ  กลุ่มของดิฉันทำมายแมพ "ไข่  (Egg)"


    • ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์ได้สอนอย่างเต็มที  และสอนสนุก  มีกิจกรรมให้ทำ  จึงทำให้ไม่เกิดความน่าเบื่อ  และไม่ง่วงนอน
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  และทำกิจกรรมกันทุก  เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเพื่อนเรียนกันอย่างสนุกสนาน
    • ประเมินตนเอง
             วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนมาก  เรียนสนุก  มีกิจกรรมให้ทำ  และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ทุกครั้งที่เรียน
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
             สาารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี  ทั้งในเรื่องของกิจกรรมหมุนภาพ  อันนี้สามารถนำบทเรียนในการทำผิดพลาดของตัวไปปรับแก้  และนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้





    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    16  September  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20

    • การเรียนในวันนี
            วันนี้อาจารย์เริ่มด้วการเปิดเพลง  "วิทยาศาสตร์"  ให้นักศึกษาฟัง  จากนั้นให้ช่วยกันวิเคราะห์ 
    เป็นสื่อที่ดี  การที่เราจะเรียนรู้ได้ดี  ควรมีเครื่องมือในการรับรู้  คือประสาทสัมผัสทั้ง 5
              
               นำเสนอบทความ
    • สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
    • วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    สรุปเรื่อง  ความลับของแสง

    • ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนไม่เต็มที่เนื่องจากติดภาระกิจ และอาจารย์ให้นักศึกษาไปสรุป  ความลับของแสง  ลงในบล็อก
    • ประเมินเพื่อน
             เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียน  แต่ก็มีบางคนคุยบ้างเล็กน้อย
    • ประเมินตนเอง
             ตั้งใจเรียน  ฟังอาจารย์สอน  และตั้งใจฟัง บทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
             นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในการทดลอง  หรือนำความรู้นี้ไปไว้ใช้กับเด็กนักเรียนในอนาคตภายภาคหน้าได้เป็นอย่างดี




    วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    9  September  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20

    • การเรียนในวันนี้
            วันนี้อาจารย์เริ่มสอนด้วยการเปิด Blogger  ของเพื่อนๆ  และให้คำแนะนำ  และให้กลับไปปรับปรุง (update)  แก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ (perfect)กว่าเดิม

            นำเสนอบทความ
    • ของเล่นวิทยาศาสตร์
    • ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
    • วิทย์-คณิต  สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
    • เมื่อลูกน้อยได้ยินเสียงดนตรี
    • การจัดการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
    สรุปการเรียนได้ดังนี้
    mind  map
    • ประเมินอาจารย์
            อาจารย์จะพยายามใช้คำถามกับนักศึกษาอยู่เรื่อยๆ  เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด  และตอบคำถาม
    • ประเมินตนเอง
            วันนี้ตั้งใจเรียนดี  คอยตอบคำถามของอาจารย์  ตอบได้บ้างเล็กน้อย  แต่งกายเรียบร้อย
    • ประเมินเพื่อน
            เพื่อนตั้งใจเรียนกันดี  ตั้งใจฟังครูสอน
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
            นำความรู้ที่ได้เรื่องทักษะวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย  และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในรายวิชานี้ต่อไป
           

    วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

    บันทึกอนุทิน

    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    2  September  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20


    • การเรียนในวันนี้
              วันนี้อาจารย์เริ่มสอนโดยการเปิดบล็อกและแนะนำ  (suggestion) ข้อเสนอแนะให้แต่ละคนไปปรับปรุง(adjust)บล็อกของตัวเอง
              
              นำเสนอบทความ
    • เรื่อง  วิทยาศาสตร์และการทดลอง
    • เรื่อง  ภาระกิจตามหาใบไม้
    • เรื่อง  เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ  กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
    • เรื่อง  การแยกประเภทเมล็ดพืช
    • เรื่องเจ้าลูกโป่ง
    สรุปการเรียนได้ดังนี้
    mind  map

    • ประเมินอาจารย์
              อาจารย์พยายามกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม  โดยที่อาจารย์ใ้คำถามปลายเปิด

    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนตั้งใจเรียนดี  อาจมีคุยกันบ้าง  เล็กน้อย  แต่งกายเรียบร้อยทุกคน
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในวิชานี้










    วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

    บันทึกอนุทิน


    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    26  August  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20

    • การเรียนในวันนี้

              วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ  เด็กปฐมวัย  และ  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และอาจารย์ให้สรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้เป็น  mind map 

    สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

    mind map



    • ประเมินอาจารย์
            อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้คิดและกล้าที่จะตอบคำถาม
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย

    • ประเมินเพื่อน
              แต่งกายเรียบร้อย   ไม่คุยในขณะอาจารย์สอน


    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุต์ใช้
              นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย

    • ความรุ้เพิ่มเติม
              -วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กในชีวิตประจำวัน
              -คณิตศาสตร์ + ทักษะทางภาษา  เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
              

        
             

    วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทิน ครั้ง 1

    บันทึกอนุทิน


    Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
    1 August  2014
    Group  103  Time  08:30-12:20


    • การเรียนในวันนี้
                อาจารย์แจกแนวการสอน (Course  Syllabus) และอธิบายเกี่ยวกับการเรียนในวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้

    1.ข้อตกลงในชั้นเรียน
    • แต่งกายเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ
    • ไม่เข้าห้องเรียนสาย
    • พูดจาไพเราะ  สุภาพ  อ่อนหวาน
    2.ผลลัพธ์การเรียนรู้

        ด้านคุณธรรมจริยธรรม
    • มีความซื่อสัตย์  สุจริต  และเสียสละ
    • มีวินัย  ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    • เคารพสิทธิ  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        ด้านความรู้
    • อธิบายหลักการ  ความสำคัญ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
    • วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
    • อธิบายสาระการเรียนรู็และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
    • ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
        ด้านทักษะทางปัญญา
    • คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
    • ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
    • ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การสร้างสรรค์วัตกรรมใหม่ๆ
        ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
    • ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร  และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • ให้ความร่วมมือ  ช่วยเหลือ  และแก้ไขเมื่อพบปัญหา
    • รับผิดชอบในผลงานตนเองและกลุ่ม
        ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า  และเรียนรู้ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
    • สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน  พร้อมทั้งเลือกใ้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
        ด้านการจัดการเรียนรู้
    • วางแผนออกแบบ  ปฏิบัติการสอน  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
    • เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
    3.แนวการสอน  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อ.ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำ  Blogger  ควรมีองค์ประกอบดังนี้
    • ชื่อและคำอธิบายบล็อก
    • รูปและข้อมูลผู้เรียน
    • ปฏิทินและนาฬิกา
    • เชื่อมโยง  บล็อกอาจารย์ผู้สอน  หน่วยงานสนับสนุน  แนวการสอน  งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์  บทความ  สื่อ(เพลง  เกม  นิทาน  แบบฝึกหัด  ของเล่น)
    4.แนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียน


    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุต์ใช้
              นำความรู้ที่ได้ไปเป็นเป็นแนวทางในการเรียน  และปรับปรุงในสิ่งในสิ่งที่ยังบกพร่องให้ดียิ่งขึ้นไป

    • ความรู้เพิ่มเติม
             มคอ.  มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา