บันทึกอนุทิน
Science Experiences Management for Early Childhood
30 September 2014
Group 103 Time 08:30-12:20
- การเรียนในวันนี้
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้พับกระดาษ พร้อมกับตัดกระดาษตามที่อาจารย์บอกและให้ติดคลิปหนีบกระดาษ โดยแต่ละแถวจะตัดความยาวไม่เท่ากัน และอากไปทดลองหน้าห้อง ผลที่ออกมาคือ เกิดความแตกต่างเพราะ วิธีการตัดไม่เท่ากัน การโยน การพับ เป็นต้น การที่ได้ลงมือกระทำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้ใหม่ ตามทฤษฎี Constructivism การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 นำแกนทิชชูมาตัดแบ่งครึ่ง เจาะรู 2 รู และนำเชือกที่เตรียมไว้มาใส่ในรูนั้น หลังจากนั้นตัดกระดาษเป็นวาดกลมพร้อมวาดรูปที่ตนเองชอบ นำมาติดที่แกนทิชชูในแนวนอน และอาจารย์ให้เราลองเล่นกันเองโดยที่อาจารย์ไม่บอกวิธีการเล่น
ภาพกิจกรรม
*ออกแบบหากิจกรรมให้เด็กเล่น ทำให้เกิดการค้นพบด้วยตัวเอง
บทความ
- สะกิดให้ลูกคิดวิทยาศาสตร์
-ช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองแบบมีเหตุผล มี 5 ขั้น
1.การมีส่วนร่วม ของพ่อแม่ให้ลูกใ้คำถาม
2.ขั้นสำรวจ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3.ขั้นอธิบาย ให้ลูกวิเคราะห์เอง
4.ขั้นรายละเอียด ให้ลูกเชื่อมโยงความรู้ เช่น หาการทดลองให้ลูกทำ
5.ขั้นประเมิน
- เรียนรู้จาก ไก่-เป็ด
-ขั้นนำ ให้เด็กร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลง เล่านิทาน ไก่-เป็ด
ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคำถามในวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไก่และเป็ด
ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงาน
- เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
- สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
- บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะ่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์สร้างความสนุกสนานและความพอใจ
- สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ครบถ้วนทุกด้าน เป็นการสส่งเสริมทักษะแนวคิดวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
- ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
- ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียน
- ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรม
- ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรม และฟังอาจารย์สอน แต่มีอุปสรรคในการเรียนคือเนื่องไม่สบาย จึงทำให้ไม่ค่อยสนุกกับการเรียนมากนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น