วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


ผู้วิจัย  :  พรใจ  สารยศ

ความมุ่งหมายของงานวิจัย  :  
            1.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
            2.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายระยะการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  :  1.แบบบันทึกเหตุการณ์
                     2.แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                     3.แบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา

วิธีดำเนินการ  :
             การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2543  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง  โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
             1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
             2.ผู้วิจัยรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยจากประธาน  และกรรมการ  หลายครั้ง
             3.ทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มเด็กที่มีบริบทใกล้เคียงกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  3  กลุ่ม  จาก  3  โรงเรียน
                   3.1โรงเรียนประจักรวิทยา  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4 วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือในการวิจัยจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปขอรับคำแนะนำ  และรับข้อเสนอแนะจากประธานควบคุมปริญญานิพนธ์
                   3.2โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอีกครั้ง  จากนั้นนำข้อมูลการจัดกิจกรรม  การสังเกตพฤติกรรมเด็กและการบันทึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปรับข้อเสนอแนะจากประธาน  กรรมการและผู้เชี่ยวชาญ
                   3.3โรงเรียนวัดอุทัยธาราม  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการจัดกิจกรรมที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะไปทดลองใช้กับเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง
            4.ดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มตัวอย่าง  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง
            5.นำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกเหตุการณ์  แบบวิเคาระห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และแบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา  มาจัดหมวดหมู่ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  The  Ethnograph
           6.นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มานำเสนอในบทที่  4
           7.อภิปรายผลจากข้อมูลที่ได้ในบทที่  4  และนำเสนอในบทที่  5

สรุปผลการวิจัย :
           ผลการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใ้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  สรุปได้ดังนี้
            1.การปรับบทบาทตนเองของผู้วิจัยขณะจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ดังนี้  ผู้วิจัยเป็นผู้นำเสนอกิจกรรม  ในสัปดาห์ที่  1-2  ส่วนบทบาทในการตั้งคำถาม  สังเกต  และรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยให้ความสำคัญทุกสัปดาห์
            2.เด็กมีการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาตามระยะเวลาดังนี้
สัปดาห์ที่  1-2  เด็กมีพฤติกรรมนิ่งเฉย  หลีกเลี่ยง  และไม่เข้าร่วมแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหา  ในสัปดาห์ที่  3-4  เด็กมีพัฒนาการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้  แต่ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม  ในสัปดาห์ที่  5-8  เด็กมีพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา

________________________________________________________________________________
สรุปบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  (เนื่องจากโทรทัศน์ครูเปิดไม่ได้)

เรื่องผงวิเศษช่วยชีวิต

วิธีการทดลอง
         
               นำผงแป้งใส่ไว้ในภาชนะใบที่  1  และ  2  และให้เด็กๆเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง ของผงแป้งทั้ง 2  ชนิด  ว่าแตกต่างกันอย่างไร  และเทน้ำลงไปในผงแป้งทั้ง  2  ชนิด  หลังจากเด็กๆพิสูจน์กันว่า  แป้งในภาชนะที่ 2  มีเนื้อที่แข็งกว่า ภานะใบที่ 1  และเมื่อใส่ผงแป้งเพิ่มลงไปอีกก็จะทำให้มีเนื้อแข็งเพิ่มมากขึ้น  เขาจึงทดลองโดยการทำบึงน้ำจำลองขึ้นมา  และนำแป้งลงไปผสม  และให้เด็กๆ วิ่งข้าม  ผลปรากฎว่า เด็กๆ  ไม่จม  แต่ถ้าเด็กลงไปยืนอยู่นิ่ง  เด็กๆ ก็จะจม  แป้งที่เรานำมาทดลองนั่นก็คือแป้งข้าวโพด
               
คุณสมบัติ
              แป้งข้าวโพดที่ละลายน้ำมีคุณสมบัติพิเศษคือ  ถ้ามีแรงกระแทกเช่น  เราวิ่ง  หรือเดินเร็วๆ  เหยียบไปบนน้ำแป้ง  มันจะเหมือนของแข็ง  คือไม่ยุบตัวลงไป  แต่หากเป็นแรงกด แบบค่อยๆ กด  มันจะเหมือนเป็นของเหลว  เช่น  เมื่อเราไปยืนอยู่บนน้ำแป้ง  เราก็จะจมลงไป
               
              ลักษณะที่ว่ามานี้  ก็จะเหมือนกับลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำตามชาดหายหรือพวกทรายดูดนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น