วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่  24  มีนาคม  2558

  • การเรียนในวันนี้
สอบวัดความรู้  
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


ผู้วิจัย  :  พรใจ  สารยศ

ความมุ่งหมายของงานวิจัย  :  
            1.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
            2.เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายระยะการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  :  1.แบบบันทึกเหตุการณ์
                     2.แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                     3.แบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา

วิธีดำเนินการ  :
             การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2543  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง  โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
             1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
             2.ผู้วิจัยรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยจากประธาน  และกรรมการ  หลายครั้ง
             3.ทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มเด็กที่มีบริบทใกล้เคียงกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  3  กลุ่ม  จาก  3  โรงเรียน
                   3.1โรงเรียนประจักรวิทยา  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4 วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือในการวิจัยจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปขอรับคำแนะนำ  และรับข้อเสนอแนะจากประธานควบคุมปริญญานิพนธ์
                   3.2โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อทดลองจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  ฝึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กและฝึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอีกครั้ง  จากนั้นนำข้อมูลการจัดกิจกรรม  การสังเกตพฤติกรรมเด็กและการบันทึกการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปรับข้อเสนอแนะจากประธาน  กรรมการและผู้เชี่ยวชาญ
                   3.3โรงเรียนวัดอุทัยธาราม  ทดลองกับเด็กจำนวน  10  คน  เป็นเวลา  4  วัน  เพื่อนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการจัดกิจกรรมที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะไปทดลองใช้กับเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง
            4.ดำเนินการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับกลุ่มตัวอย่าง  เป็นเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  4  วัน  วันละ  60  นาที  รวม  32  ครั้ง
            5.นำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกเหตุการณ์  แบบวิเคาระห์พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  และแบบบันทึกการพัฒนาการแก้ปัญหา  มาจัดหมวดหมู่ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  The  Ethnograph
           6.นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มานำเสนอในบทที่  4
           7.อภิปรายผลจากข้อมูลที่ได้ในบทที่  4  และนำเสนอในบทที่  5

สรุปผลการวิจัย :
           ผลการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใ้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  สรุปได้ดังนี้
            1.การปรับบทบาทตนเองของผู้วิจัยขณะจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ดังนี้  ผู้วิจัยเป็นผู้นำเสนอกิจกรรม  ในสัปดาห์ที่  1-2  ส่วนบทบาทในการตั้งคำถาม  สังเกต  และรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยให้ความสำคัญทุกสัปดาห์
            2.เด็กมีการเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาตามระยะเวลาดังนี้
สัปดาห์ที่  1-2  เด็กมีพฤติกรรมนิ่งเฉย  หลีกเลี่ยง  และไม่เข้าร่วมแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหา  ในสัปดาห์ที่  3-4  เด็กมีพัฒนาการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้  แต่ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม  ในสัปดาห์ที่  5-8  เด็กมีพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ตกลงภายในกลุ่มหรือรายบุคคลได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา

________________________________________________________________________________
สรุปบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  (เนื่องจากโทรทัศน์ครูเปิดไม่ได้)

เรื่องผงวิเศษช่วยชีวิต

วิธีการทดลอง
         
               นำผงแป้งใส่ไว้ในภาชนะใบที่  1  และ  2  และให้เด็กๆเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง ของผงแป้งทั้ง 2  ชนิด  ว่าแตกต่างกันอย่างไร  และเทน้ำลงไปในผงแป้งทั้ง  2  ชนิด  หลังจากเด็กๆพิสูจน์กันว่า  แป้งในภาชนะที่ 2  มีเนื้อที่แข็งกว่า ภานะใบที่ 1  และเมื่อใส่ผงแป้งเพิ่มลงไปอีกก็จะทำให้มีเนื้อแข็งเพิ่มมากขึ้น  เขาจึงทดลองโดยการทำบึงน้ำจำลองขึ้นมา  และนำแป้งลงไปผสม  และให้เด็กๆ วิ่งข้าม  ผลปรากฎว่า เด็กๆ  ไม่จม  แต่ถ้าเด็กลงไปยืนอยู่นิ่ง  เด็กๆ ก็จะจม  แป้งที่เรานำมาทดลองนั่นก็คือแป้งข้าวโพด
               
คุณสมบัติ
              แป้งข้าวโพดที่ละลายน้ำมีคุณสมบัติพิเศษคือ  ถ้ามีแรงกระแทกเช่น  เราวิ่ง  หรือเดินเร็วๆ  เหยียบไปบนน้ำแป้ง  มันจะเหมือนของแข็ง  คือไม่ยุบตัวลงไป  แต่หากเป็นแรงกด แบบค่อยๆ กด  มันจะเหมือนเป็นของเหลว  เช่น  เมื่อเราไปยืนอยู่บนน้ำแป้ง  เราก็จะจมลงไป
               
              ลักษณะที่ว่ามานี้  ก็จะเหมือนกับลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำตามชาดหายหรือพวกทรายดูดนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
2 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนพับ  "สารสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน"
กลุ่มของดิฉันทำ  หน่วยไข่  มีเนื้อหาดังนี้


  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนอาจารย์จึงเน้นเรื่องงานและการสอบ
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          นำวิธีการทำแผนพับ  สารสัมพันธ์ระหว่างครูและโรงเรียน  ไปใช้ในอนาคต  ได้เป็นอย่างดี

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
25 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องแผนการสอน  อาจารย์เน้นให้ทุกคนเข้าใจ  และถ้ากลุ่มไหนมีปัญหาหรือไม่เข้าใจ ให้เข้าไปปรึกษาอาจารย์  เพื่อที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนในครั้งต่อไป

          ต่อด้วยอาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของตนเองอีกหนึ่งครั้ง  เพื่อที่จะจัดให้เป็นหมวดหมู่ โดยจัดหมวดหมู่ได้ดังต่อไปนี้

   

หลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็ออกมานำเสนอ  โทรทัศน์ และงานวิจัย

       โทรทัศน์ครู

        -ไฟฟ้าและพันธ์ุพืช

        -การละลายของสาร

        -จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย

        -แรงเสียดทาน

        -สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

       วิจัย

        -กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์

        -ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

        -การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ


         หลังจากนำเสนองานเสร็จแล้ว  อาจารย์ให้นักศึกษา  ทำหวานเย็น  ต่อ

ขั้นตอนการทำ
1. ผสมน้ำแดงกับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ
2.ตักใส่ถุง มัดให้แน่น
3.แช่ลงไปในน้ำแข็งที่ผสมเกลือ โดยบรรจุไว้ในหม้อ
4.หมุนหม้อไปมา



  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์อารมณ์ดี  มีกิจกรรมให้ทำ 
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          นำคำเสนอแนะ และกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำกันในห้องเรียน  นำไปประยุกต์กับเด็กปฐมวัยในอนาคต  ได้ดี




วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
19 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์เปลี่ยนวันสอนมาเป็นวันพุธ   เนื่องจากวันอังคารมีกิจกรรม  ที่นักศึกษาต้องเข้าร่วมทำกิจกรรม

          อาจารย์เริ่มการสอนโดยการพูดเรื่องการสรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครู  บอกหัวข้อต่างๆ ที่นักศึกษาต้องสรุปมา

          และต่อด้วยการทำ  Cooking  Waffle  มีอุปณ์  ส่วนประกอบ  และวิธีการทำดังนี้

อุปกรณ์
-กระบวย
-ที่ตีไข่
-ถ้วยใบเล็ก
-แปรงทาเนย
-เครื่องทำขนม

ส่วนประกอบ
-นม
-เนย
-ไข่
-แป้งสำเร็จรูป

ขั้นตอนการทำ
1. เทแป้งใส่ถ้วย ตามด้วย น้ำ  นม ไข่  และเนย
2.ตีให้เข้ากัน
3.ทาเนยบนแผงทำวาฟเฟิล
4.หยอดแป้งลงบนแผงให้เต็ม
5.อบประมาณ 3-4 นาที
6.เปิดเครื่อง พร้อมกับวาฟเฟิลที่พร้อมรับประทาน



             หลังจากนั้นเพื่อนๆ อีก 2 กลุ่ม ออกมาสอบสอน ในหน่วยดิน  และหน่วยสับปะรด  และต่อด้วยนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู

  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอน  ทำให้นักศึกษาเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรม  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
          รู้จักขั้นตอนการทำขนม วาฟเฟิล  และสามารถนำไปสอนเด็กในอนาคตต่อไปได้




วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
11 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20

  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้เริ่มจากการสอบสอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

1.  หน่วยสับปะรด  (Pineapple)

2.  หน่วยส้ม  (Orange)

3.  หน่วยทุเรียน  (Durian)

4.  หน่วยมด  (Ant)

5.  หน่วยน้ำ  (Water)


6.  หน่วยดิน (Soil)
___________________________________________________________________

และหลังจากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้สาธิตการทำไข่หลุม


  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนสนุก  สอดแทรกเนื้อหาได้ดี
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใ้ประโยชน์
          นำทักษะที่ได้จากการเรียนในวันนี้ไปใช้ฝึกตนเอง  และสามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในการสอน ในอนาคตต่อไป


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
4 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องแผนต่อ  สัปดาห์ที่แล้ว  ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1.  กรอบมาตรฐาน
2.  สาระที่ควรเรียนรู้
3.  แนวคิด
4.  เนื้อหา
5.  ประสบการณ์สำคัญ
6.  บูรณาการ
7.  กิจกรรมหลัก
8.  วัตถุประสงค์
  
         เมื่ออาจารย์สอนเสร็จ  แต่ละกลุ่มก็ออกมาสอบสอนหน้าชั้นเรียน  มีทั้งหมด  10  กลุ่ม
วันนี้ที่มีการนำเสนอ  มีเพียง  4  กลุ่ม  คือ
1.  หน่วยข้าว  (Rice)

2.  หน่วยไข่  (Egg)

3.  หน่วยกล้วย  (Banana)

4.  หน่วยกบ  (Frog)

และหน่วยที่เหลือสอนต่อสัปดาห์หน้า

  • ประเมินอาจารย์
           อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการสอนมากขึ้น
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  และตั้งใจสอนในหน่วยของตัวเอง
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          นำกระบวนการที่อาจารย์แนะนำไปประยุกต์ในการสอนมากยิ่งๆ ขึ้นไป