วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
11 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20

  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้เริ่มจากการสอบสอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

1.  หน่วยสับปะรด  (Pineapple)

2.  หน่วยส้ม  (Orange)

3.  หน่วยทุเรียน  (Durian)

4.  หน่วยมด  (Ant)

5.  หน่วยน้ำ  (Water)


6.  หน่วยดิน (Soil)
___________________________________________________________________

และหลังจากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้สาธิตการทำไข่หลุม


  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนสนุก  สอดแทรกเนื้อหาได้ดี
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • การนำความรู้ที่ได้ไปใ้ประโยชน์
          นำทักษะที่ได้จากการเรียนในวันนี้ไปใช้ฝึกตนเอง  และสามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในการสอน ในอนาคตต่อไป


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
4 November  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องแผนต่อ  สัปดาห์ที่แล้ว  ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1.  กรอบมาตรฐาน
2.  สาระที่ควรเรียนรู้
3.  แนวคิด
4.  เนื้อหา
5.  ประสบการณ์สำคัญ
6.  บูรณาการ
7.  กิจกรรมหลัก
8.  วัตถุประสงค์
  
         เมื่ออาจารย์สอนเสร็จ  แต่ละกลุ่มก็ออกมาสอบสอนหน้าชั้นเรียน  มีทั้งหมด  10  กลุ่ม
วันนี้ที่มีการนำเสนอ  มีเพียง  4  กลุ่ม  คือ
1.  หน่วยข้าว  (Rice)

2.  หน่วยไข่  (Egg)

3.  หน่วยกล้วย  (Banana)

4.  หน่วยกบ  (Frog)

และหน่วยที่เหลือสอนต่อสัปดาห์หน้า

  • ประเมินอาจารย์
           อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการสอนมากขึ้น
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  และตั้งใจสอนในหน่วยของตัวเอง
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          นำกระบวนการที่อาจารย์แนะนำไปประยุกต์ในการสอนมากยิ่งๆ ขึ้นไป

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
28  October  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้

  • กิจกรรมที่ 1
วันนี้อาจารย์ทำการทดลองให้นักศึกษาดู  คือการทดลอง  
เรื่อง  อากาศ
อุปกรณ์  ไม้ขีดไฟ  เทียน  ถ้วย  แก้ว
การทดลอง  คือ  นำไฟมาจุดเทียนที่ตั้งไว้บนถ้วย  แล้วนำแก้วมาครอบ 
สังเกตการเปลี่ยน  เมื่อนำแก้วมาคอบเทียนไข  เทียนไขก็จะดับลง  เพราะอากาศที่อยู่ในแก้วทำให้ไฟดับลง
ภาพการทดลอง


  • กิจกรรมที่  2
อาจารย์แจกกระดาษ  (Paper) ให้คนละ  1 แผ่น  แล้วพับครึ่ง  2  ครั้ง  แล้วฉีกออก ให้เป็นรูปกลีบดอกไม้ จากนั้นนำไปลอยน้ำ  จากการสังเกต  ผลที่ออกมาคือ  ดังภาพ


จากการทดลอง  เมื่อน้ำเริ่มซึมเข้ากระดาษเรื่อยๆ  กระดาษก็จะคลี่ออกมาทีละกลีบ  และคลี่ออกมาเรื่อยๆ เป็นรูปดอกไม้

  • กิจกรรมที่  3
เรื่อง  การลอยการจม
การทดลอง  นำดินน้ำมันที่นวดไว้  ปั้นเป็นก้อนกลมและนำไปใส่ลงในภาชนะบรรจุน้ำที่เตรียมไว้  ผลที่ออกมาคือ  ดินน้ำมันจมน้ำ  เป็นเพราะดินน้ำมันมีมวลสารจึงทำให้จม
ภาพการทดลอง



  • กิจกรรมที่  4
เรื่อง  น้ำ
การทดลอง  กรอกน้ำใส่ขวด  และนำสายยางมาดูดน้ำจากขวดนึงไปยังอีกขวดนึง  และเปรียบเทียบระหว่างการนำขาดที่ถ่ายเท วางในระดับเดียวกัน  และวางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สังเกตการไหลของน้ำ ว่าการวางแบบใดน้ำจะไหลเร็วกว่ากัน  
สังเกตการเปลี่ยนแปลง การวางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ น้ำจะไหลเร็วกว่า  การวางในระดับเดียวกัน
ภาพการทดลอง




  • ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนสนุก  มีกิจกรรมมากมาย
    • ประเมินเพื่อน
              เพื่อนๆตั้งใจเรียน  สนุกกับการทำกิจกรรม  แต่งกายเรียบร้อย
    • ประเมินตนเอง
              ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
    • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
              นำเทคนิค  การทดลองต่างๆ  ไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  และมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้




    บทความ

    สรุปบทความ

    (Article)


    ครูกับการพัฒนาทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
    โดย : การศึกษาปฐมวัย  ดร.ดารารัตน์  อุทัยพยัคฆ์

           การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ครูจะจัดกิจกรรมในเรื่องของสิ่งที่อยู่แวดล้อมเด็กซึ่งเกี่ยวข้องกับพืช  สัตว์  มนุษย์  ดิน  น้ำ  อากาศ  แสง  เสียง  เป็นต้น  โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจากการสังเกตทดลองและตอบคำถาม  สิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กประทับใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ครูจะต้องพัฒนาให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  สิ่งที่ครูควรปฏิบัติเพื่อสร้างทัศนคติให้กับเด็กคือ
         
           -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการสังเกตสิ่งที่เด็กพบทุกวัน  ให้เด็กได้ค้นหาแหล่งข้อมูลง่ายๆ
           -  คอยส่งเสริมและสนับสนุนเด็กขณะจัดกิจกรรมการทดลอง  ให้เวลากับเด็กโดยคอยให้คำแนะนำและถามคำถามต่างๆ  สิ่งที่ครูควรพูดหรือถามได้แก่  นักเรียนคิดอะไร  นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น  พวกเราจะลองอีกครั้งหนึ่งไหมว่าจะเกิดเหมือนเดิมหรือไม่  ลองผลัดกันมาดูทีละคนว่าพวกเราทั้งหมดเห็นเหมือนกันหรือไม่
         
           ฉะนั้นการพัฒนาทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย  เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป