วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
21  October  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
           วันนี้เริ่มเรียนโดยการที่เพื่อนๆออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ตกค้างจากสัปดาห์ที่ผ่านมา   และหลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอเสร็จ  อาจารย์เริ่มสอนเรื่องแผนการจัดประสบการณ์อธิบายเรื่องการเขียนแผนการสอน   และแนะแนวทางการจัดกิจกรรมในแผนให้กับนักศึกษา

           โดยเรียงจากหัวข้อดังนี้

1.  วัตถุประสงค์

2.  สาระที่ควรเรียนรู้

3.  เนื้อหา




4.  แนวคิด

5.  ประสบการณ์สำคัญ

 กรอบพัฒนาการ


  • web  (บูรณาการทักษะรายวิชา)
6.  แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม  (กิจกรรมหลัก  6  กิจกรรม)

7.  แผนของแต่ละวัน

     แผนในแต่ละกลุ่มของกลกุ่มดิฉัน  "ไข่"

  • วันที่  1  ชนิดของไข่  (Type)
  • วันที่  2  ลักษณะของไข่  (Characteristice)
  • วันที่  3  ส่วนประกอบของไข่  (Components)
  • วันที่  4  ประโยชน์ของไข่  (Benefits)
  • วันที่  5  การเก็บรักษา  (Storage)
 ของเล่นจากหน่วย"ไข่"  คือ  ไข่น้อยลอยน้ำ 

  • ประเมินอาจารย์
          วันนี้อาจารย์สอนสนุก  เข้าสอนตรงเวลา
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          นำความรู้เรื่องการเขียนแผนที่อาจารย์อธิบายไปปรับใช้ในการเขียนให้ถูกต้อง  และดีมากกว่าเดิม


วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
14  October  2014
Group  103  Time  08:30-12:20


  • การเรียนในวันนี้
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนอวิทยาศาสตร์ที่ตัวเองทำมา

สื่อของดิฉันคือ  วงล้อหลากสี


          อุปกรณ์

1.กาว
2.ไม้บรรทัด
3.ดินสอ
4.กรรไกร
5.เชือก
6.กระดาษ
7.สีเมจิก

         วิธีทำ

1.ตัดกระดาษเป็นวงกลม
2.นำไม้บรรทัด  ขีดเส้น   แบ่งเป็น  6  ส่วน
3.ระบาย
4.เจาะรูตรงกลาง  2 รู
5.ตัดเชือกยาว 36  นิ้ว
6.ร้อยเชือกลงไปในรู
7.ผูกติดกัน

         วิธีเล่น

นำไปเล่นหมุนๆ ดึงๆ  กลายเป็นวงล้อสีสวย

               ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์คือ  เด็กจะได้เรื่องสี  เด็กจะรับรู้ต่อสี  คือเกิดการมองเห็น  โดยใช้ตา  เป็นอวัยวะรับสัมผัส  ตาจะตอบสนองต่อสีต่างๆ  และเด็กจะได้เรื่องของการหมุนและการดึง เด็กจะมีเทคนิคในการหมุนเมื่อเราหมุนจนเชือกตึงเด็กก็จะปล่อยออกมาวงล้อก็จะเกิดการหมุนหลังจากนั้นเด็กสามารถดึงวงล้อให้เข้าหรือออกก็ได้  จากแรงดึง

สื่อของเพื่อนๆ



                      หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนต่อเรื่อง  เรื่องแผนการสอน และกลุ่มของดิฉันทำหน่วย"ไข่"  ซึงได้ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว





  • ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ให้คำอธิบายและข้อเสนอแนะในสื่อแต่ละสื่อที่นำเสนอได้อย่างละเอียด
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตั้งใจนำเสนอสื่อที่ตนเองทำมา
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจออกไปนำเสนอสื่อ
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          นำสื่อที่เพื่อนๆออกไปนำเสนอและของตนเอง  และข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กในอนาคตต่อไป


วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
7  October  2014
Group  103  Time  08:30-12:20







ไม่มีการเรียนการสอนอยู่ในช่วงสอบกลางภาค

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood
30  September  2014
Group  103  Time  08:30-12:20



  • การเรียนในวันนี้
วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยการให้นักศึกษาทำกิจกรรมประดิษฐ์วิทยาศาสตร์  2  อย่าง คือ

           กิจกรรมที่  1  อาจารย์ให้พับกระดาษ  พร้อมกับตัดกระดาษตามที่อาจารย์บอกและให้ติดคลิปหนีบกระดาษ  โดยแต่ละแถวจะตัดความยาวไม่เท่ากัน  และอากไปทดลองหน้าห้อง  ผลที่ออกมาคือ  เกิดความแตกต่างเพราะ วิธีการตัดไม่เท่ากัน  การโยน  การพับ  เป็นต้น  การที่ได้ลงมือกระทำ  ทำให้เกิดการเรียนรู้  เกิดองค์ความรู้ใหม่  ตามทฤษฎี  Constructivism  การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ภาพกิจกรรม




           กิจกรรมที่  2  นำแกนทิชชูมาตัดแบ่งครึ่ง  เจาะรู  2 รู  และนำเชือกที่เตรียมไว้มาใส่ในรูนั้น  หลังจากนั้นตัดกระดาษเป็นวาดกลมพร้อมวาดรูปที่ตนเองชอบ นำมาติดที่แกนทิชชูในแนวนอน  และอาจารย์ให้เราลองเล่นกันเองโดยที่อาจารย์ไม่บอกวิธีการเล่น  

ภาพกิจกรรม


*ออกแบบหากิจกรรมให้เด็กเล่น  ทำให้เกิดการค้นพบด้วยตัวเอง


      บทความ
  • สะกิดให้ลูกคิดวิทยาศาสตร์
          -ช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองแบบมีเหตุผล  มี  5 ขั้น
1.การมีส่วนร่วม  ของพ่อแม่ให้ลูกใ้คำถาม
2.ขั้นสำรวจ  แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3.ขั้นอธิบาย  ให้ลูกวิเคราะห์เอง
4.ขั้นรายละเอียด  ให้ลูกเชื่อมโยงความรู้  เช่น  หาการทดลองให้ลูกทำ
5.ขั้นประเมิน

  • เรียนรู้จาก  ไก่-เป็ด
          -ขั้นนำ  ให้เด็กร้องเพลง  ทำท่าทางประกอบเพลง  เล่านิทาน  ไก่-เป็ด
           ขั้นสอน  ชวนเด็กตั้งคำถามในวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ไก่และเป็ด
           ขั้นสรุป  เด็กนำเสนอผลงาน

  • เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
- สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
- บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะ่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์สร้างความสนุกสนานและความพอใจ
- สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก

  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
          หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ครบถ้วนทุกด้าน  เป็นการสส่งเสริมทักษะแนวคิดวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

  • ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
          
  • ประเมินอาจารย์
           อาจารย์สอนสนุก  มีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียน
  • ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆตั้งใจเรียน  และตั้งใจทำกิจกรรม
  • ประเมินตนเอง
          ตั้งใจทำกิจกรรม  และฟังอาจารย์สอน  แต่มีอุปสรรคในการเรียนคือเนื่องไม่สบาย  จึงทำให้ไม่ค่อยสนุกกับการเรียนมากนัก
  • การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนไปจัดให้กับเด็กโดยให้เด็กได้เรียนรู้จากตัวกิจกรรมด้วยตนเอง  ทำให้เด็กเกิดการค้นพบ